เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 2. สติวินัย
2. สติวินัย
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์โดยประกาศสมมติให้ว่าเป็นผู้มีสติสมบูรณ์

เรื่องพระทัพพมัลลบุตร1
[189] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถาน
ที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระทัพพมัลลบุตร ได้บรรลุ
พระอรหัตตผล เมื่ออายุ 7 ขวบ นับแต่เกิด คุณวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระสาวก
จะพึงบรรลุ ท่านก็ได้บรรลุแล้วทั้งหมด อนึ่ง ท่านไม่มีกิจอะไร ๆ ที่จะพึงทำยิ่งกว่านี้
หรือกิจที่ทำเสร็จแล้ว ซึ่งจะทำเพิ่มเติมอีกก็ไม่มี
ต่อมา ท่านพระทัพพมัลลบุตรหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดคำนึงอย่าง
นี้ว่า “เราได้บรรลุอรหัตตผลเมื่ออายุ 7 ขวบ นับแต่เกิด คุณวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่พระสาวกพึงบรรลุ เราก็ได้บรรลุแล้วทั้งหมด ไม่มีกิจอะไร ๆ ที่จะพึงทำยิ่งกว่านี้
หรือกิจที่ทำเสร็จแล้วซึ่งจะทำเพิ่มเติมอีกก็ไม่มี เราควรช่วยอะไรสงฆ์ได้บ้าง”
ลำดับนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรตกลงใจว่า “ถ้ากระไร เราควรจัดแจเสนาสนะ
และแจกภัตตาหารแก่สงฆ์” ครั้นออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งลง ณ ที่
สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้า
หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้บรรลุอรหัตตผลเมื่ออายุ 7 ขวบ
นับแต่เกิด คุณวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง เราก็ได้บรรลุแล้วทั้งหมด ไม่มีกิจอะไร ๆ ที่
จะพึงทำยิ่งไปกว่านี้ หรือกิจที่ทำเสร็จแล้วซึ่งจะทำเพิ่มเติมอีกก็ไม่มี เราควรช่วยอะไร
สงฆ์ได้บ้าง’ พระพุทธเจ้าข้า ถ้ากระไร ข้าพระพุทธเจ้าพึงจัดแจงเสนาสนะและแจก
ภัตตาหารแก่สงฆ์ ข้าพระพุทธเจ้า ปรารถนาจะจัดแจงเสนาสนะและแจกภัตตาหาร
แก่สงฆ์”

เชิงอรรถ :
1 วิ.มหา. (แปล) 1/380/412-414

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :300 }


พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 2. สติวินัย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีแล้ว ดีแล้ว ทัพพะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงจัดแจงเสนาสนะ
และแจกภัตตาหารแก่สงฆ์” พระทัพพมัลลบุตรทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว

แต่งตั้งเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงแต่งตั้งทัพพมัลลบุตร
ให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ

วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจาแต่งตั้ง
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขอให้ทัพพมัลลบุตรรับ
ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[190] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้ง
ท่านพระทัพพมัลลบุตร ให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งพระทัพพมัลลบุตรให้เป็น
เสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งท่านพระ
ทัพพมัลลบุตร ให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุทเทสกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ท่านพระทัพพมัลลบุตร สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะและภัตตุท-
เทสกะแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติ
อย่างนี้”
[191] เมื่อท่านพระทัพพมัลลบุตร ไดัรับแต่งตั้งแล้ว ย่อมจัดแจงเสนาสนะ
สำหรับหมู่ภิกษุผู้มีคุณสมบัติเสมอกันไว้ที่เดียวกัน ดังนี้ คือ จัดแจงเสนาสนะสำหรับ
ภิกษุผู้ทรงพระสูตรรวมกันไว้แห่งหนึ่ง ด้วยประสงค์ว่า “ภิกษุเหล่านั้นจักซักซ้อมพระ
สูตรกัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :301 }